วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบสัปดาห์ที่ 1-2

แบบทดสอบสัปดาห์ที่ 1-2

เนื้อหาสัปดาห์ที่ 1


ความหมายของอาหารและประเภทของอาหาร

อาหาร หมายถึง    สิ่งที่มนุษย์กิน ดื่มหรือรับเข้าร่างกายโดยไม่มีพิษแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่สึกหรอและทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายดำเนินการไปอย่างปกติซึ่งรวมถึงน้ำด้วย ดังนั้นอาหารประจำวันของมนุษย์จึงจำเป็นต้องประกอบด้วยอาหารหลายๆอย่าง เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ไข่ นม พืชผัก ผลไม้ รวมทั้งไขมันจากพืชและสัตว์  เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน

ร่างกายของคนเราจะมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี จำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่และรวมไปถึงการได้รับน้ำที่สะอาดอย่างเพียงพอด้วย ดังนั้นเราจึงควรทราบถึงประเภทของอาหารหลักทั้ง 5 หมู่ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้เลือกบริโภคให้เหมาะสมกับปริมาณความต้องการของร่างกาย


หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งและงา
 เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี สามารถนำไปเสริมสร้าง ร่างกายให้เจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เสื่อมให้อยู่ในสภาพปกติ ในวัยเด็ก จำเป็นอย่างนิ่งที่ต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ และมีคุณภาพที่ดี  วัยผู้ใหญ่ ควรเลือกกินโปรตีนที่สามารถย่อยง่ายและมีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลาและเพื่อไม่ให้ ่เบื่ออาหาร ควรกินสลับกับถั่วเมล็ดแห้งบ้าง ทำให้เกิดความหลากหลายในชนิดอาหาร
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล
                ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล มีสารอาหารคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ให้พลังงาน ข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือมีใยอาหาร วิตามินและ แร่ธาตุ เพื่อให้ร่างกายได้ประโยชน์มากที่สุด ควรกินสลับกับ ผลิตภัณฑ์จากข้าวและธัญพืชอื่น ที่ให้พลังงานเช่นเดียวกับข้าว ได้แก่ ก๋วยเตี่ยว ขนมจีน บะหมี่ วุ้นเส้น หรือแป้งต่างๆ และไม่ควรกินมากเกินความต้องการเพราะอาหารประเภทนี้จะถูกเปลี่ยนและ เก็บสะสมไว้ในรูปของไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วน
หมู่ที่ 3 ผักต่างๆ         


อาหารหมู่นี้ จะให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกายช่วยเสริมสร้างทำให้ร่างกายแข็งแรงมีแรงต้านทานเชื้อโรคและช่วยให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างเป็นปกติ อาหารที่สำคัญของหมู่นี้ คือ ผักต่างๆ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดและผักใบเขียวอื่นๆ นอกจากนั้นยังรวมถึงพืชผักอื่นๆ เช่น มะเขือ ฟักทอง ถั่วฝักยาว เป็นต้น นอกจากนั้น อาหารหมู่นี้จะมีกากอาหารที่ถูกขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระทำให้ลำไส้  ทำงานเป็นปกติ

หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ                

 ผลไม้ต่างๆ จะให้วิตามินและเกลือแร่  ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานโรคและมีกากอาหารช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นปกติ  อาหารที่สำคัญ ได้แก่ ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย มะละกอ ส้มมังคุด ลำไย เป็นต้น

หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน          
                ไขมันและน้ำมัน จะให้สารอาหารประเภทไขมันมาก จะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตร่างกายจะสะสมพลังงานที่ได้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก ต้นขา เป็นต้น ไขมันที่สะสมไว้เหล่านี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและให้พลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาว อาหารที่สำคัญ ได้แก่
                 - ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู รวมทั้งไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ต่างๆด้วย
                - ไขมันที่ได้จากพืช เข่น กะทิ น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม เป็นต้น
                สารอาหาร (Nutrients) คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหารที่ให้คุณค่าต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ
                โภชนาการ( Nutrition) หมายถึง ความต้องการของสารอาหารการเปลี่ยนแปลงของอาหาร
ในร่างกายและร่างกายเอาสารไปใช้อะไรบ้าง  ตลอดจนถึงการย่อย  การดูดซึมและการขับถ่าย


เนื้อหาสัปดาห์ที่ 2


คุณค่าของอาหารและโภชนาการต่อสุขภาพ
                อาหารแต่ละชนิด นอกจากมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แล้วยังมีน้ำอยู่ด้วย น้ำเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ร่างกายขาดน้ำไม่ได้ เพราะน้ำช่วยนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ เช่น ระบบการย่อยอาหาร การหมุนเวียนของโลหิต การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย นอกจากนี้น้ำยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติและทำให้ผิวพรรณสดชื่นด้วย
คุณค่าของอาหารต่อสุขภาพ
                อาหารที่กินเข้าสู่ร่างกายให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
                1. อาหารสร้างเสริมทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทุกคนต้องการอาหารไปเสริมสร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย เพราะการแบ่งเซลล์ในร่างกายนั้นต้องอาศัยสารอาหารประเภทต่างๆที่บริโภคเข้าไป
                2. อาหาร เสริมสร้างอวัยวะของร่างกายที่สึกหรอ ทรุดโทรม ให้กลับสุขภาพดีในร่างกายวัยผู้ใหญ่ย่อมมีการชำรุดสึกหรอ เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ที่ใช้งานมานาน จึงจำเป็นต้องซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอนั้นให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ซึ่งการซ่อมแซมนี้ร่างกายจำเป็นต้องอาศัยสารอาหารที่ได้จากการรับประทานอาหารโดยเฉพาะสารอาหารจำพวกโปรตีน
                3. อาหาร ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย เนื่องจากร่างกายต้องทำงานอยู่ตลอดเวลาแม้ในขณะหลับ นอกจากนี้ในการเผาผลาญอาหารยังช่วยให้มีพลังงานความร้อนเกิดขึ้นด้วย พลังงานความร้อนนี้จะทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
                4. อาหาร ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ตามปกติ เนื่องจากแหล่งพลังงานของร่างกายได้มาจากอาหารการทำงานของอวัยวะต่างๆต้องได้รับอาหารที่เหมาะสมจึงทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้ตามปกติ เช่น การทำงานของต่อมไทรอยด์ จำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีธาตุไอโอดีน ถ้าร่างกายได้รับธาตุไอโอดีนน้อยเกินไปก็จะทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติและเป็นโรคคอพอกได้
                5. ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคแก่ร่างกาย ผู้ที่ได้รับอาหารที่มีปริมาณและคุณค่าครบถ้วนจะช่วยป้องกันโรคทำให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โอกาสในการติดโรคต่าง ๆ จะมีน้อยเนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคได้ดี หรือถ้าเจ็บป่วยก็มีอาการไม่รุ่นแรงมากนัก

กิจกรรมการเรียนรู้


กิจกรรมการเรียนรู้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทำความรู้จักแนะนำชื่อครูผู้สอนให้นักเรียนรู้จัก และให้นักเรียนแนะนำตัวเองเพื่อให้ครู
1.2 ถามความรู้เบื้องต้นกับนักเรียนเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
2.ขั้นสอน
     2.1 พูดถึงการกินอาหารให้เหมาะสมกับวัย
     2.2 พูดถึงวิธีเลือกรับประทานอาหาร ตามหลักโภชนาการให้ครบ๕หมู่
3.ขั้นสรุป
 3.1 ทบทวนบทเรียนทั้งหมด โดยการถามคำถามให้นักเรียนตอบนักเรียนไปด้วย
 3.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในข้อที่สงสัย


แผนการเรียนรู้


แผนการเรียนรู้การเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม Weblog
วิชา สุขศึกษา สาระที่ ๔ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ ๔.๑ เรื่อง คุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ 

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑
สัปดาห์ที่ ๑ ตัวชี้วัดที่
-การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัย(30นาที)
-วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการภาวะโภชนาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ(30นาที)
สาระแกนกลาง
หลักการเลือกอาหารที่เหมาะสมกับวัย
ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการ
- ภาวะ การขาดสารอาหาร
- ภาวะโภชนาการเกิน

สัปดาห์ที่ ๒ ตัวชี้วัด
-อธิบายการควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน(30นาที)
- อธิบายการสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ.(30นาที)


จุดประสงค์การเรียนรู้ 
1. บอกวิธีเลือกรับประทานอาหาร ตามหลักโภชนาการได้
2. ตระหนักถึงคุณค่าของอาหารและโภชนาการที่มีต่อสุขภาพ
3. มีทักษะในการปฏิบัติตนตามข้อแนะนำในการบริโภคอาหารตามโภชนาบัญญัติและปฏิบัติตามธงโภชนาการ
4. เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย
         
สื่อการเรียนการสอน
http://nookerinlove.blogspot.com/2012/01/blog-post_31.html
กิจกรรมการเรียนรู้
1.
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทำความรู้จักแนะนำชื่อครูผู้สอนให้นักเรียนรู้จัก และให้นักเรียนแนะนำตัวเองเพื่อให้ครูรู 1.2 ถามความรู้เบื้องต้นกับนักเรียนเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
2.ขั้นสอน
     2.1 พูดถึงการกินอาหารให้เหมาะสมกับวัย
     2.2 พูดถึงวิธีเลือกรับประทานอาหาร ตามหลักโภชนาการให้ครบ๕หมู่
3.ขั้นสรุป
 3.1 ทบทวนบทเรียนทั้งหมด โดยการถามคำถามให้นักเรียนตอบนักเรียนไปด้วย
 3.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในข้อที่สงสัย



การประเมินผล
ใบงาน
เรื่อง ความหมายของอาหารและประเภทของอาหาร

คำสั่ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. อาหาร หมายถึง สิ่งใด
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. อาหารหมู่ที่ 1 เป็นอาหารจำพวกอะไร ให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. อาหารหมู่ที่ 2 เป็นอาหารจำพวกอะไร ให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4. อาหารหมู่ที่ 3 เป็นอาหารจำพวกอะไร ให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
         

5. อาหารหมู่ที่ 4 เป็นอาหารจำพวกอะไร ให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
6. อาหารหมู่ที่ 5 เป็นอาหารจำพวกอะไร ให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ประมวลรายวิชา

ประมวลรายวิชา (Course syllabus)

สาระการเรียนรู้             สุขศึกษา

สาระที่  ๔              การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค

มาตรฐาน             พ ๔.๑ คุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและ  การสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่  ๑  

ตัวชี้วัด                    ๑.การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัย
                                     ๒.วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการภาวะโภชนาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
 ๓.ควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
 ๔.การสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ

สาระแกนกลาง       Ÿ  หลักการเลือกอาหารที่เหมาะสมกับวัย
Ÿ  ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการ
-  ภาวะการขาดสารอาหาร
-  ภาวะโภชนาการเกิน
Ÿ  เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย
Ÿ  วิธีการควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
Ÿ  วิธีทดสอบสมรรถภาพทางกาย
Ÿ  วิธีสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพ   ทางกายตามผลการทดสอบ

โครงสร้างเนื้อหาและปฏิทินการเรียน

สัปดาห์ที่ ๑              -อธิบายการเลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัย (1ชั่วโมง)
                           -วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการภาวะโภชนาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (1ชั่วโมง)
สัปดาห์ที่ ๒             -อธิบายการควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน(1ชั่วโมง)
                                 -อธิบายการสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ.(1ชั่วโมง).
รูปแบบการเรียน    การเรียนแบบผสมผสานสัดส่วนของการจัดการเรียน    70% ชั้นเรียน
                                                                                                                          30% ออนไลน์
สื่อทางอินเทอร์เน็ต         http://nookerinlove.blogspot.com/
การวัดและประเมินผล   ข้อสอบออนไลน์ โดยใช้ กูเกิลฟอร์ม และนำไปแสดงไว้บนweblog ของตนเอง

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

โครงงาน

โครงงาน วิชา สุขศึกษา(การสร้างเสริมสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค)
เสนอโดย
นาย กิติชัย ขันธวิชัย รหัสประจำตัวนักศึกษา 53161301036
1. หลักการและเหตุผล
การจัดทำโครงงานเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค เพราะกระผมคิดว่า สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต เพราะเป็นพื้นฐานเบื้องต้นทำให้สามารถประกอบภารกิจในชีวิตประจำวันได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีจะมีลักษณะร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานประสานกันเป็นอย่างดี ร่างกายสมสัดส่วน ทรวดทรงดี ทำให้สุขภาพดี และป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ ฉะนั้นเราจึงควรรู้แนวทางพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ และสามารถทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพได้
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อจะได้มีความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค
2. นักเรียนสามารถทดสอบสมรรถภาพตามที่กำหนดได้
3. เพื่อนำไปเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่น
4. เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. เพื่อให้รู้ถึงเรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค
3. เป้าหมาย
เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รู้และเข้าใจความหมายและความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย รู้จักฝึกการคิด การวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย เพื่อการนำไปใช้กับวัยต่าง ๆ และเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง
4. วิธีดำเนินงาน
1.เสนอหัวข้อโครงงาน
2.ศึกษาและรวบรวมเนื้อหาที่จะต้องใช้ในการให้ความรู้
3.ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพทั้งจากทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต
4.จัดแยกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อใช้ในการสร้างเนื้อหาในส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
5.ออกแบบระบบงานและการนำเสนอ
6.นำเสนอและอธิบาย
7.รายงานผลกานดำเนินงาน
5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
นาย กิติชัย ขันธวิชัย
6. งบประมาณ
ไม่มี
7. สถานที่ดำเนินการ
1) ระบบ Internet ซึ่งดำเนินการติดตั้ง และดูแลโดยสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตอุดรธานี
2) weblog ที่ให้บริการโดย Google
8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายและความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย รู้จักฝึกการคิด การวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย เพื่อการนำไปใช้กับวัยต่าง ๆ และเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

กีฬา เทนนิส (Tennis)

     

  ประวัติกีฬาเทนนิส


                                
 
            เทนนิสเล่นกันในประเทศกรีกตั้งแต่ก่อนคริสกาล เทนนิสมีรากฐานมาจากกีฬาแฮนด์บอลในสมัยโบราณ ระหว่างยุคกลาง (Middle ages ) ก็ได้พัฒนามาเป็นกีฬาที่ตีลูกกลับไปกลับมาระหว่างคนสองคนแทนที่จะตีเข้าข้างฝา ชื่อเทนนิสมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า TENEZ แปลว่า เอาหรือพร้อม ตอนแรกการเล่นไม่มีเส้นขอบเขต แต่ต่อมาได้มีสนามรูปร่างเหมือนนาฬิกาทรายมีเส้นลากผ่านทางคอดตรงเส้นกลาง
     ตอนแรก ๆ ลูกบอลทำด้วยหนังหุ้มผมอยู่ภายใน ไม้ตีได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ สำหรับป้องกันการตีลูก โดยการใช้ถุงมือแล้วต่อมาได้มีการพันเชือกรอบ ๆ ถุงมืออีกที สำหรับการป้องกันลูกได้ดีขึ้นจากการรวมของไม้กับเชือกเข้าด้วยกัน
              ในยุคกลางกีฬาประเภทนี้ได้ถูกนำเข้ามาเล่นในอังกฤษซึ่งพวกขุนนางเล่นกัน การนับคะแนนนั้นสับสนมากจนคนธรรมดาไม่สามารถเข้าใจได้ และสนามก็แพงมากเฉพาะคนรวยเท่านั้นที่หามาเล่นได้จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1874 การนับคะแนนก็ทำให้ได้งานยิ่งขึ้นและกฎของกีฬาเทนนิสก็ถูกดัดแปลงให้ใช้เล่นกับสนามธรรมดาได้
     การใช้สิบห้า สามสิบ ฯลฯ ในการนับคะแนนของแต่ละคนอาจอธิบายได้ดังนี้ การเล่นไล่หรือการแยกนับคะแนนเป็น 1, 2, 3 ฯลฯ ไล่ สิบห้า นับเป็นหนึ่งคะแนนและเกมส์หนึ่งจะมี 4 หรือ 5 คะแนน คำอธิบายนี้เป็นคำแนะนำของนักประวัติศาสตร์เทนนิสซึ่งมันอาจจะเป็นไปได้
     คำว่า LOVE แปลว่า ไม่มีคะแนนมาจากวลีที่ว่า FOR LOVE แปลว่าไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่ได้อะไร ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1678 ในส่วนเกี่ยวกับการเล่นการแข่งขันเพื่อความสนุกแล้วก็กลายเป็นคำที่ใช้ในกีฬาฟุตบอล เทนนิส ฯลฯ แปลว่า ไม่มีคะแนน ข้างที่ไม่ได้คะแนนเรียกว่า LOVE
     หลังจากการนับคะแนนและกติกาต่างๆ ได้ทำให้ง่ายขึ้นแล้ว เทนนิสก็กลายเป็นกีฬาที่นิยมทั่วไปในอังกฤษ ฝรั่งเศส และขยายออกไปอย่างรวดเร็วในประเทศอาณานิคมของทั้งสองประเทศนี้ กีฬาเทนนิสได้ถูกนำมาเล่นในประเทศสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 1875 โดย MARRY OUTERBRIDGE หลังจากที่ได้ไปเยี่ยมเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นกีฬาที่นิยมกันมากเลย ได้นำอุปกรณ์ ไม้ เนต และลูกบอลมาแนะนำเพื่อนที่ GRATEN ISLAND ซึ่งที่นั้นมีสนามหญ้าที่เรียบ และมีหญ้าชนิดดี กีฬานี้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วยังตะวันออก CLICKET CLUB ก็มีเทนนิสรวมอยู่ด้วยพร้อมกับกีฬาอื่น ๆ สำหรับให้สมาชิกเล่น
     ใน ค.ศ. 1881 สมาคมลอนเทนนิสในสหรัฐอเมริกาได้ตั้งขึ้น ณ กรุงนิวยอร์กและบอสตัน จากองค์การนี้ความแพร่หลายของเทนนิสก็ได้มีการนิยมเล่นกว้างขวางขึ้นอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่มีขึ้นในสหรัฐฯ น้อยครั้งที่จะมีการเล่นในสนามหญ้า แต่อย่างไรก็ดี การแข่งขันที่เป็นทางการไม่ว่าจะเล่นบนสนามดินหรือซีเมนต์ก็มีการรับรองโดยสมาคมลอนเทนนิสแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S.L.T.A ) ทั้งนั้น มีการแข่งขันระหว่างเมือง รัฐ ภาค และระหว่างประเทศ โดยเล่นในสนามต่าง ๆ กันที่ทำขึ้นโดยเฉพาะผู้ชาย ผู้หญิง เด็กชาย เด็กหญิงและเยาวชน และมีการแข่งขันในสวนสาธารณะโดยเล่นกันระหว่างมหาวิทยาลัย ฯลฯ
     การแข่งขัน WIGHTMAN CUP เป็นการแข่งขันสำหรับผู้หญิงระหว่างอังกฤษกับสหรัฐฯ ถ้วยนี้ได้ถูกนำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกหลายครั้ง โดยทีมที่ชนะการแข่งขันและจะอยู่ในประเทศที่ชนะจนกระทั่งทีมอื่นจะได้มันไป
     ส่วนใหญ่ในการแข่งขันระดับประเทศได้มีประเทศอื่น ๆ เข้ามาแข่งขันกันอย่างมากมาย เช่น บางทีเราจะได้ข่าวว่าผู้ชนะจากประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อในการชนะหลายตำแหน่งนอกเหนือจากตำแหน่งที่เขาได้รับจากประเทศของตน
     มีบ่อยๆ ครั้งจะมีผู้เล่นฝีมือเยี่ยม ๆ ประมาณ 64 คน เข้าสมัครแข่งขันระหว่างรัฐ ภาค และระหว่างประเทศ ซึ่งเขาก็มีสิทธิ์เล่นได้ คุณสมบัติของผู้เล่นประกอบด้วยสถิติของการเล่นในระหว่างปีหรือปีก่อน ๆ ที่ผู้เล่นได้ทำการแข่งขันมา

ที่มา:http://www.microsofttranslator.com/Default.aspx?ref=IE8Activity